กลายเป็นที่ฮือฮาหลังจากที่ ราชินีเดนมาร์ก เดินทางมอบรางวัลให้ อูลฟ์ พิลโกด์ นักแสดงที่แสดงล้อเลียนตนมาตลอด 40 ปี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม Cirkusrevyen หรือ Circus Revue เพจละครเวทีในประเทศเดนมาร์กได้โพสต์คลิปวิดีโอ วินาทีที่ สมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งราชวงศ์เดนมาร์ก ยืนอยู่บนเวทีร่วมกับ อูลฟ์ พิลโกด์ นักแสดงที่มีชื่อเสียงจากการแสดงล้อเลียน สมเด็จพระราชินีตลอดช่วงระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา
โดยวิดีโอดังกล่าวเป็นช่วงหลังการแสดงครั้งสุดท้ายของ พิลโกด์
ที่ตัดสินใจเกษียณอายุ และกล่าวบอกลาด้วยการแสดงล้อเลียนเป็นควีนมาร์เกรเธอ อย่างไรก็ตาม พิลโกด์ที่อยู่ในชุดสีเหลืองต้องเจอกับเซอร์ไพรส์เมื่อ สมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอเดินขึ้นมาบนเวที และมอบรางวัลเป็นเขี่ยบุหรี่สลักพระปรมาภิไธยย่อของพระองค์
ซึ่งที่เขี่ยบุหรี่นั้นมีนัยยะสำคัญ เนื่องจาก ภาพพิลโกด์ล้อเลียนควีนตอนสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในภาพจำที่ได้รับความนิยมในการแสดงของเขา ซึ่งประชาชนในประเทศรู้ดีว่า สมเด็จพระราชินีมาร์เกรเธอ สูบบุหรี่จัด
เมื่อคลิปดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกไปก็ได้มีชาวเน็ตออกมาชื่นชมเป็นอย่างมาก พร้อมแสดงความประทับใจที่ตัวของราชินีที่เดินทางให้เกียรติเวทีสุดท้ายของ พิลโกด์
ประเทศ ไทย งามเข้า หลังจากที่ องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นโลก หรือ WADA แถลงว่า ไทย พร้อมด้วย อินโดนีเซีย และ เกาหลีเหนือทำผิดกฏสารกระตุ้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สำนักข่าว รอยเตอร์ รายงานว่า องค์กรต่อต้านสารกระตุ้นโลก หรือ WADA ได้แถลงการว่า ประเทศไทย, เกาหลีเหนือ และ อินโดนีเซียทำผิดกฎของเรื่องสารกระตุ้นเกี่ยวกับนักกีฬา และส่งผลให้ทั้งสามชาติไม่สามารถจัดแข่งกีฬาในระดับภูมิภาค ทวีป หรือระดับโลกได้
ซึ่งทาง WADA ให้สาเหตุว่า ไทยไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.สารกระตุ้นของ WADA ในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่ อินโดนีเซีย และเกาหลีเหนือ ผิดกฎในด้านของการไม่ส่งนักกีฬาเข้ารับการตรวจหาสารกระตุ้น
โดยคณะกรรมการของทั้ง 3 ประเทศจะถูกสั่งให้ออกจากตำแหน่งคณะกรรมการของ WADA เป็นระยะเวลาหนึ่งปีหรือเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ในส่วนนักกีฬาจากทั้งสามชาติยังคงสามารถลงเข้าแข่งขันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามนักกีฬาจะไม่สามารถลงแข่งภายใต้ในนามของทีมชาติได้ เว้นแต่การแข่งขันโอลิมปิก
อย่างไรก็ตามสำนักข่าวไทยรัฐได้ระบุว่า กรณีของประเทศไทยเป็นคนละเคสกับเกาหลีเหนือและอินโดนีเซีย ซึ่งตอนนี้ พรบ. ที่ไทยใช้อยู่ยังไม่เป็นไปตาม World Anti-Doping Code 2021 ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไข และอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับการทำงานของ WADA โดยมีกรอบเวลา 3 เดือน แต่ด้วยเงื่อนไขกระบวนการในบ้านเรา ต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงอาจเกิดปัญหาในจุดนี้ แต่ก็มีการเจรจาส่งความคืบหน้าให้ WADA ทราบตลอด
ศาลเกาหลีใต้ตัดสินให้กองทัพผิด กรณีปลด ‘บยอนฮีซู’ ทหารข้ามเพศ
ศาลประเทศเกาหลีใต้ให้ กองทัพมีความผิดจากกรณีปลด บยอนฮีซู ทหารข้ามเพศ อ้างผู้ตายบกพร่องด้านร่างกายหรือจิตใจ จนให้เธอปลิดชีพตนเอง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม สำนักข่าว สเตรทไทมส์ รายงานว่า ศาลในประเทศเกาหลีใต้ได้ออกมาตัดสินให้คำสั่งปลด น.ส.บยอน ฮีซู อดีตทหารข้ามเพศออกจากกองทัพและนำไปสู่การปลิดชีพตนเองนั้น เป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
โดยศาลเกาหลีใต้ระบุว่ากอิงทัพควรจะยอมรับผู้ตายว่าเป็นผู้หญิงหลังจากที่เธอผ่านการผ่าตัดมาแล้ว ซึ่งทางศาลยังชี้อีกว่าหลังจากที่เธอผ่าตัดข้ามเพศสำเร็จ ทางศาลยอมรับคำขอที่ร้องขอให้เธอถูกยอมรับว่าเป็นผู้หญิง และทำให้ทางกองทัพไม่สามารถปลดเธอเนื่องจากนางสาว บยอนบกพร่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ด้านกระทรวงกลาโหมระบุว่าพวกเขายอมรับการตัดสินใจของศาล แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่
ย้อนกลับไปช่วงปี 2563 ทางกองทัพได้ปลดเธอออกจากกองทัพ โดยให้เหตุผลว่าการผ่าตัดอวัยวะเพศชายออกนั้นถือเป็นการกระทำที่ทำให้เธอบกพร่องทางด้านร่างการหรือจิตใจ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวทำให้นางสาว บยอน ปลิดชีพตนเองในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
จากการเสียชีวิตของเธอนั้นทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และเรียกร้องให้นักการเมืองเกาหลีใต้ผ่านร่างต่อต้านการเหยียดเพศ เชื้อชาติ สีผิว เช่นเดียวกันกับต่างชาติที่ออกมาแสดงความกังวลว่าประเทศเกาหลีใต้ปฏิบัติต่อทหารที่เป็นกลุ่มเพศทางเลือกว่าอาจจะต้องถูกตัดสินจำคุกสองปี แม้ว่าการเป็นเกย์ในฐานะพลเรือนจะมีกฎหมายรองรับในชีวิตประจำวัน
“ผู้หญิงคนนี้จัดการตัวเองยังไง ให้ทนข้ามผ่านสถานการณ์แบบนี้ไปได้ โดยไม่ตะโกนหรือหัวเราะออกมา เหลือเชื่อไปเลย”
“เธอถึงขั้นจำจังหวะของมันได้โดยไม่ต้องเปิดเพลง แม้แต่ในความเงียบยังหนีไปไหนไม่ได้ กราบหัวใจเธอเลยแม่”
เครดิต : รีวิวซีรี่ย์เกาหลี | ลายสัก | รีวิวร้านอาหาร | โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก | เรื่องย่อหนัง